ปังคุงกะเจมส์

เพื่อนของฉัน

ผู้ติดตาม

ปฎิทินการทำงานของฉัน

ปฎิทินวันหยุดของไทย

คลังบทความของบล็อก

สาระน่ารู้...

  • สาระที่น่าสนใจ...
  • http://www.mediafire.com/?39b90obbrk1535v

link ที่สนใจ

  • http://www.teenee.com
  • http://www.hi5.com/
  • http://http://www.kapook.com
  • http://http://thestar.gmember.com
  • http://www.dek-d.com
  • http://www.youtube.com

วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การ์ตูนหมีพูร์

เพลงไม่ไเด้มั่วแต่..ทั่วถึง

เทคนิคการสอนกีตาร์คาสสิค






บทความเรื่อง 4 เรื่องสุขภาพ.....เอามาฝากด้วยความปรารถนาดี


บทความเรื่อง 4 เรื่องสุขภาพ.....เอามาฝากด้วยความปรารถนาดี

1. ทำอย่างไรจึงจะไม่แก่ และอายุยืน
             
           คำตอบคือกินสายกลาง  กินสายกลางคือกินมื้อเช้าและมื้อเที่ยง  งดมื้อเย็น  เปรียบตัวเราเป็นรถยนต์   ตื่นเช้ามาต้องเติมน้ำมันก่อน หรือกินมื้อเช้า  รถจึงจะวิ่งได้   ถึงเที่ยงน้ำมันยังไม่หมด   เติมอีกครั้ง    ถึงเย็นก่อนนอนก็ยังไม่หมด ฉะนั้นถ้ากินมื้อเช้า  มื้อเที่ยง  จนถึงเย็น พลังงานยังเหลือแน่นอน   ไม่จำเป็นต้องไปเติมอีก   เพราะเวลานอนร่างกายจะนำพลังงานที่เหลือใช้ไปเก็บในที่ต่างๆ   โดยตับเป็นผู้ทำงานนี้ ถ้าพลังงานเหลือมาก   การเอาไปเก็บในที่ต่างๆก็มาก   ทำให้อ้วน   และแน่นอนถ้าเก็บไม่หมดโดยเฉพาะพวกไขมันตัวโตๆ  จะต้องค้างอยู่ในหลอดเลือด ถ้าค้างสะสมมากเท่าใด   รูหลอดเลือดก็จะเล็กลงทุกวัน   เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆได้น้อยลง   อวัยวะทั้งหลายก็จะเสื่อมสภาพเร็วขึ้นหรือแก่เร็วขึ้น ถ้าวันไหนอุดตัน   เช่นถ้าตันที่สมอง  จะกลายเป็นคนพิการอัมพาตครึ่งซีก   ถ้าอุดตันที่ไต  ต้องล้างไต  เปลี่ยนไต   ถ้าตันที่ขา อาจต้องตัดขาทิ้ง ถ้าตันที่กล้ามเนื้อหัวใจ   ก็จะไม่มีโอกาสได้สั่งลาใคร    ฉะนั้นการกินมื้อเย็นจึงเป็นมื้อที่เร่งกระบวนการเสื่อมถึงเสียชีวิตให้เร็ว ขึ้นไปอีก มื้อเย็นจึงเป็นมื้ออันตราย  เป็นมื้อตายผ่อนส่ง   ยิ่งกินมื้อเย็นมาก  ยิ่งผ่อนส่งมาก  ตายเร็ว  ถ้าไม่กินมื้อเย็น  ก็จะแก่ช้า  เสื่อมช้า  อายุยืน การไม่กินอาหารมื้อเย็นเป็นเรื่องที่ต้องเอาชนะใจตัวเองอย่างมาก  ถ้าใครทำได้จะตัดทั้งกิเลส  สุขภาพดี   อายุยืน   และมีสมาธิดี ความมุ่งมั่นสูง  ได้ประโยชน์ทั้งกายและใจ  แต่ท่านต้องฝึกกระเพาะให้เกิดความเคยชิน    วิธีฝึกมี 4 วิธี

       1.   ค่อยๆลดปริมาณอาหารมื้อเย็น  ทีละน้อยๆเช่นลดกินข้าวจาก 2 จาน  เหลือ1 1/2 จาน สัก 3-4 เดือน  โดยมีข้อแม้ว่าหลังอาหาร เย็นแล้วห้ามกินอาหารใดๆทั้งนั้นยกเว้นน้ำเปล่า พอกระเพาะชินแล้วลดเหลือ 1 จาน  ต่อไปครึ่งจาน  ต่อไปไม่กินข้าวเลยกินแต่กับ  ต่อไปกินผักผลไม้ สุดท้ายงดอาหารเย็น
       2.  ร่นเวลากินอาหารเย็น  เช่นจาก 2 ทุ่มมากิน 1 ทุ่ม  ต่อไปเลื่อนเป็น 6 โมงเย็น  5 โมงเย็น  4 โมงเย็น  3 โมงเย็น ฯ
       3.   กินเม็ดแมงลักแทนมื้อเย็น  ใช้เม็ดแมงลัก 2 ช้อนโต๊ะใส่ในถ้วยน้ำแกงหรือน้ำเปล่าคนแล้วดื่มทันที   ดื่มน้ำตามอีก 4-5 แก้ว
       4.   กินมังสะวิรัตมื้อเย็น  การกินผักผลไม้ถือว่าเป็นอาหารไม่มีพิษ  ร่างกายจะได้พักไม่ต้องทำลายพิษของอาหารเนื้อสัตว์ พิษที่สะสมไว้ก่อนก็จะถูกตับ ไต กำจัดหมดไปเองได้  ร่างกายมีเวลาถึง 18 ช.ม.  กำจัดพิษที่ติดมากับมื้อเช้า  มื้อเที่ยงได้ทัน  ฉะนั้นการไม่กินอาหารเย็น  จึงเป็นเวลาที่ตับ ไต จะสามารถกำจัดสารพิษจากอาหารมื้อเช้าและเที่ยงได้หมด  ร่างกายจึงบริสุทธิ์ทุกวัน
             

2. โรค Attention Deficit Trait ดย ผศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์     pasu@acc.chula.ac.th

ท่านผู้อ่านเป็นผู้หนึ่งที่ชอบทำงานในลักษณะของ Multitasking หรือไม่ครับ? คนกลุ่มนี้จะเป็นพวกที่สามารถหรือชอบที่จะทำงานหลาย ๆ อย่างไปในขณะเดียวกัน เช่นในขณะที่กำลังเช็คอีเมลทางคอมพิวเตอร์ ก็กำลังคุยโทรศัพท์สั่งงานกับลูกน้อง พร้อมทั้งดื่มกาแฟไปพร้อมกัน หรือในขณะที่กำลังนั่งประชุม ก็สั่งงานพร้อมทั้งหาข้อมูล และตัดสินใจผ่านทางเครื่องโน้ตบุ๊คที่ตั้งอยู่ข้างหน้า  ในอดีตผมก็เคยชื่นชมคนพวกนี้นะครับว่า มีความสามารถมาก สามารถทำงานได้หลายอย่างในขณะเดียวกัน สามารถทำงานได้ออกมาเยอะ และดูยังสงบไม่ตื่นเต้นโวยวายเท่าใด  แต่ท่านผู้อ่านทราบไหมครับ ว่า การทำงานในลักษณะ Multitasking นั้น กลับเป็นสาเหตุประการหนึ่งของโรคร้ายใหม่ในที่ทำงาน ที่เราเรียก Attention Deficit Trait หรือ ADT โรคนี้เป็นโรคที่เราจะเจอมากขึ้นเรื่อยๆ ในที่ทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะแวดล้อมที่บังคับให้คนทำงานจะต้องทำงานด้วยความรวด เร็วมากขึ้น ทำงานหลายอย่างพร้อมๆ กัน จะต้องตื่นตัวตลอดเวลา ไม่มีเวลาหรือโอกาสได้สงบพักท่านผู้อ่านลองพิจารณาตัวท่านเองหรือบุคคลรอบ ข้างนะครับว่า เป็นโรคนี้หรือไม่?

ผมอ่านพบเจอโรคนี้จากวารสาร Harvard Business Review ฉบับเดือนมกราคม 2548 ในบทความชื่อ
Why Smart People Underperform เขียนโดย Edward M. Hallowell ซึ่งเป็นจิตแพทย์ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในโรคที่เกี่ยวกับสมองและสมาธิทั้ง หลาย คุณหมอท่านนี้ทำการรักษาอาการ Attention Deficit Disorder หรือ ADD มากว่า 25 ปี และ โรค ADD นี้เราเริ่มรู้จักกันมากขึ้นในเมืองไทย โดยเฉพาะผู้ที่มีลูกอยู่ในวัยเรียน เรามักจะเรียกโรคนี้ว่าเป็นโรคสมาธิสั้น

ผู้เขียนบทความนี้เขาพบว่า ในช่วงหลังๆ เริ่มมีผู้ใหญ่เข้ามารับการรักษาในอาการที่คล้ายกับโรคสมาธิสั้นกันมากขึ้น แต่เมื่อวินิจฉัยดูก็ไม่ได้เป็นโรคสมาธิสั้น แต่เป็นโรคอีกชนิดหนึ่งที่มีอาการคล้ายกับโรคสมาธิสั้น คุณหมอท่านนี้เลยตั้งชื่อใหม่ว่าเป็น Attention Deficit Trait หรือ ADT โดยสาเหตุของ ADT จะต่างจากโรคสมาธิสั้น เนื่องจากโรคสมาธิสั้นจะมีสาเหตุมาจากพันธุกรรมและสภาวะแวดล้อม แต่ ADT นั้น จะมาจากสภาวะแวดล้อมเป็นหลัก

ผู้ที่เป็นโรค ADT นั้น มักจะมีอาการสมาธิสั้น ไม่สามารถจดจ่ออยู่กับงานใดงานหนึ่งได้นานๆ ก็จะถูกดึงดูดด้วยงานอย่างอื่น มีความวุ่นวายอยู่ข้างใน (แต่มักจะไม่แสดงออกมาให้ผู้อื่นเห็น) ไม่ค่อยอดทน มีปัญหาในการจัดระบบต่างๆ (Unorganized) การจัดลำดับความสำคัญ และการบริหารเวลา

โรค ADT นี้ มักจะเริ่มก่อเกิดขึ้นเมื่อเราก้าวขึ้นไปเป็นผู้บริหารระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ การที่มีความรู้สึกว่ามีงานด่วน หรือสิ่งที่จำเป็นและเร่งด่วนที่จะต้องทำเข้ามาเรื่อยๆ และท่านพยายามที่จะจัดการกับงานด่วนเหล่านั้นให้สำเร็จ จะเป็นบ่อเกิดที่สำคัญของโรค ADT เพราะเมื่อเรามีงานที่เร่งด่วน หรือจำเป็นเข้ามาเรื่อยๆ เราก็มักจะรับภาระความรับผิดชอบต่องานเหล่านั้น อีกทั้งไม่บ่นไม่โวยวายต่อภาระงานที่เพิ่มขึ้น เราจะก้มหน้าก้มตาพยายามทำให้งานสำเร็จ ทั้งๆ ที่กำลังความสามารถ และเวลาของเราไม่เหมาะสมและสอดคล้องกับปริมาณของงานที่เข้ามา  ดังนั้น เมื่อเจอกับปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นและเร่งด่วนขึ้น เราก็มักจะอยู่ในอาการของความรีบร้อนตลอดเวลา พยายามทำงานให้เสร็จโดยเร็ว

การทำงานหลายๆ อย่างไปพร้อมๆ กัน และขาดสมาธิต่อการทำงานๆ หนึ่ง (Unfocused) แต่ในขณะเดียวกัน บุคคลเหล่านี้ก็จะไม่บ่นไม่โวยวาย ดูจากภายนอกแล้วเหมือนจะไม่มีปัญหาอะไรเกิดขึ้น

ทีนี้ท่านผู้อ่านอาจจะสงสัยครับว่าโรค ADT จะก่อให้เกิดปัญหาอะไรขึ้น? ง่ายๆ ก็คือ ทำให้สมองเราสูญเสียความสามารถในการคิด วิเคราะห์ และทำงานอย่างละเอียดลึกซึ้ง จะส่งผลให้งานที่ออกมาเป็นงานที่เร็วแต่ไม่ลึก จะทำให้ความสามารถในการทำงานของเราลดน้อยลง การที่สมองเราจะต้องรับ วิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูลต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ความสามารถในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ก็ลดลง อีกทั้งความผิดพลาดก็เกิดขึ้นได้มากขึ้น

โรคนี้ถือเป็นโรคใหม่ในที่ทำงานอย่างหนึ่งครับ เกิดขึ้นเนื่องจากสภาวะแวดล้อมในการทำงาน ที่ต้องการความรวดเร็ว และมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น สมองเราจะต้องรับและประมวลผลข้อมูลต่างๆ มากขึ้นกว่าเดิม วัฒนธรรมในการทำงานในปัจจุบัน ก็เป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้เราเกิดโรคนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสำคัญของความเร็วในการทำสิ่งต่างๆ ในปัจจุบันดูเหมือนว่าเราต้องการความเร็วมากขึ้นเรื่อยๆ (เรามักจะคิดว่าในเมื่อคนทุกคนมีเวลาเท่ากัน ดังนั้น ผู้ที่มีความเร็วมากกว่าจะทำงานได้มากกว่า)

ท่านผู้อ่านลองสังเกตซิครับเวลาท่านขึ้นลิฟต์ ปุ่มไหนที่ท่านจะกดบ่อยที่สุด ปุ่มนั้นก็คือปุ่ม "ปิดประตู" เนื่องเพราะทุกคนเป็นทาสของความเร็ว ไม่สามารถรอให้ลิฟต์ปิดได้เอง

***ไม่ทราบว่าท่านผู้อ่านเป็นโรค ADT กันบ้างไหมครับ ผมลองสังเกตตัวเองก็รู้สึกว่าเป็นเหมือนกันครับ ทั้งสาเหตุและอาการก็เหมือนกับที่คุณหมอเขาเขียนไว้ในบทความของเขาเลยครับ เพียงแต่ท่านผู้อ่านอย่าเพิ่งตกใจนะครับ ถ้ารู้สึกว่าตนเองเป็น ADT เนื่องจากคนแต่ละคนจะมีวิธีการในการบริหารและจัดการกับโรค ADT ที่ต่างกัน (เนื่องจากสมองของคนแต่ละคนต่างกัน)***

3.  ดื่มน้ำน้อยมีผลร้ายที่คุณคิดไม่ถึง  
ร่างกายของคนเราประกอบด้วยน้ำ 70 กว่าเปอร์เซนต์ เลือดเราประกอบด้วยน้ำ 90 กว่าเปอร์เซนต์   กระดูกเราก็ประกอบด้วยน้ำ 22 เปอร์เซนต์ ร่างกายเราเสียน้ำวันละ 2 ลิตรเศษ แล้วรับน้ำเข้าไป เพียงพอหรือไม่ ถ้าไม่พอเราก็ถือว่าขาดน้ำ ร่างกายและอวัยวะภายในจะรวนผิดปกติไปหมด

เลือดเราจะข้นหนืด   ยากที่หัวใจจะสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงร่างกายส่วนต่างๆ ของร่างกาย หัวใจเองนั่นแหละจะตีบตันเสียก่อน ต้องทำบายพาสกันวุ่นวาย ความจำก็จะเสื่อมหรือเป็นอัลไซเมอร์ เพราะเลือดเลี้ยงสมองไม่พอ เส้นเลือดก็จะตีบตันหมดหรือไม่มีเลือดจะขึ้นไปเลี้ยง

จากประสบการณ์ที่พบคนไข้ที่เป็นโรคความจำเสื่อม เป็นถึงระดับผู้บริหารใหญ่ๆก็หลายท่าน ดื่มน้ำวันละ 2-3 แก้ว ไม่เกิน 500 ซี.ซี. เลือดก็ข้นหนืด เต็มไปด้วยไขมัน สังเกตุได้หัวตาเหมือนกับเอาพู่กันป้ายสีขาวไว้   และก็ฟันธงได้เลยว่าทุกรายถ้าดื่มน้ำอย่างนี้คลอเรสเทอรอลสูงทุกคน   รอให้เส้นเลือดอุดตันได้เลย

ดื่มน้ำน้อยมาก เลือดคงจะข้นหนืด ผนังมดลูกคงจะแห้งไม่ลอกหลุดออกมาเมื่อมีไข่ตก และไม่ได้รับการผสมพันธุ์ เลือดนั้นก็ยังสะสมเป็นของเสียอยู่ที่ผนังมดลูกเดือนแล้วเดือนเล่า เมื่อช่องทางการขับของเสียดำเนินไม่ได้ตามธรรมชาติ ร่างกายก็จะสร้างรั้วขอบเขตเป็นถุง เป็นเนื้องอก มาหุ้มห่อของเสียนั้นไว้ ของเสียก็จะค่อยๆกลายเป็นเนื้องอกและกลายเป็นมะเร็งในที่สุด  

ช่องทางในการขับของเสียออกจะมีอยู่ 5 ช่องทางด้วยกันคือ
1. ไต   ขับออกมาทางปัสสาวะ
2. ลำไส้ใหญ่   ขับออกมาทางอุจจาระ
3. ปอด   ขับออกมาทางลมหายใจ
4. ผิวหนัง  ขับออกมาทางเหงื่อ
5. รอบเดือน   ขับออกมาทางประจำเดือน
 

4.  เส้นโลหิตในสมองบกพร่อง - เคล็ดลับการวินิจฉัยอาการโรค Apoplexy

วิธีวินิจฉัยอาการ  แพทย์แนะว่า  คนข้างเคียงเพียงแค่ทดสอบผู้ป่วยด้วย 3 ข้อ

โปรดจำเคล็ดลับ STR ดังต่อไปนี้
 S:  (smile) ให้ผู้ป่วยยิ้ม
 T:  (talk) ให้ผู้ป่วยพูดประโยคที่มีสาระสมบูรณ์  เช่น  วันนี้อากาศสดใสดีจัง
 R:  (raise) ให้ผู้ป่วยชูแขนสองข้าง

 อาการอีกอย่างที่ไม่ควรมองข้าม ให้ผู้ป่วยแลบลิ้นออก ถ้าลิ้นม้วนหรือเบี้ยวไปข้างหนึ่ง  ใช่แล้ว ส่ออาการอันตราย !!!

 ถ้าผู้ป่วยมีอาการผิดปรกติข้อใดข้อหนึ่ง  ให้รีบติดต่อแพทย์ ส่ง ร.พ.โดยด่วน

บทความ วิธีขับสารพิษด้วยการหายใจ


บทความ วิธีขับสารพิษด้วยการหายใจ
ทราบหรือไม่ว่า การหายใจสามารถช่วยขับสารพิษได้
วันนี้เรามีวิธีขับสารพิษด้วยการหายใจมาฝาก
วิธีที่ 1 ให้นั่งคุกเข่าเหยียดหลังตรง และหายใจเข้า ท้องป่อง หายใจออก ท้องยุบ ให้ได้ 120 ครั้งใน 1 นาที โดยไม่รู้สึกเหนื่อย หลังจากนั้นสมองจะรู้สึกโล่ง
วิธีที่ 2 นั่งสมาธิ ให้ส้นเท้าทั้ง 2 ข้าง อยู่ในแนวเดียวกัน หงายมือซ้าย ใช้นิ้วโป้ง และนิ้วกลาง มือขวามาปิดจมูก โดยเริ่มจากนิ้วกลางใช้ปิดรูจมูกซ้าย แล้วหายใจออกรูจมูกขวา หายใจให้หมดท้อง ให้รู้สึกว่าท้องแฟบ จากนั้น หายใจเข้า เมื่อหายใจเข้าจนท้องพองแล้วให้ปิดรูจมูกขวาด้วยนิ้วโป้ง แล้วหายใจออกรูจมูกซ้าย จนท้องแฟบ ให้ทำสลับไปมาจะช่วยขับสารพิษในร่างกายได้
ถ้าอยากขับสารพิษออกจากร่างกาย ลองนำวิธีที่แนะนำไปฝึกหายใจกันดูได้.
ที่มาข้อมูล : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

บทความเรื่อง จิตวิทยาการตลาด


บทความเรื่อง จิตวิทยาการตลาด
โดย ไซมอน โชติอนันต์ พลตื้อ

ปัจจัยทางจิตวิทยา
          การและเลือกซื้อของบุคคลได้รับอิทธิพลจากปัจจัยทางจิตวิทยา  (psychological factors) ที่สำคัญ 4 ปัจจัยได้แก่ การจูงใจ  การรับรู้  และความเชื่อและทัศนคติ
ที่ทำให้เกิดความพึงพอใจ
การจูงใจ
       แอนนาสนใจที่จะซื้อกล้องสักตัว อะไรคือสิ่งที่เธอกำลังแสวงหาอย่างแท้จริง อะไรคือความต้องการที่เธอพยายามที่ทำให้เกิดความพึงพอใจ
       แต่ละคนมีความต้องการหลายสิ่งหลายอย่างในช่วงเวลาหนึ่ง ความต้องการบางอย่างเป็นความต้องการทางชีววิทยาเกิดจากสภาวะความตึงเครียด เช่น ความหิว หรือความลำบาก นี้เป็นความต้องการทางจิตวิทยาเกิดจากความต้องการยอมรับ การยกย่องความต้องการส่วนใหญ่อาจไม่มากพอที่จะจูงใจให้บุคคลกระทำในช่วงเวลา นั้น ความต้องการกลายเป็นสิ่งจูงใจเมื่อให้รับการกระตุ้นอย่างเพียงพอจนเกิดความ ตึงเครียด สิ่งจูงใจ (motive)หรือแรงขับ (drive)เป็นความต้องการที่กดดันมากพอที่จะจูงใจให้บุคคลเกิดพฤติกรรมตอบสนอง ความต้องการ
ทฤษฎีความต้องการมี 2 ทฤษฎี  ทฤษฎีของซิมมันด์ ฟรอยด์ และทฤษฎีของอับราฮัม มาสโลว์ ทั้งทฤษฎีให้ความหมายของแรงจูงใจแต่ต่างกันว่า การวิเคราะห์ผู้บริโภคและการตลาด

ทฤษฎีการจูงใจของฟรอยด์
          ฟรอยด์ตั้งสมมติฐานว่าพลังทางจิตวิทยามีส่วนช่วยสร้างให้เกิดพฤติกรรมพบว่า บุคคลควบคุมสิ่งเร้าหลายอย่าง บุคคลจึงมีความฝัน พูดคำที่ไม่ตั้งใจพูดและมีพฤติกรรมหลอกหลอน หรือเกิดอาการวิตกจริตอย่างมาก เช่น แอนนาต้องการซื้อกล้องถ่ายรูปราคาแพง เธออธิบายถึงแรงจูงใจว่าเป็นเพราะเธอถ่ายรูปเพราะจะได้มีอาชีพเสริม แต่ในเป็นวัยรุ่นและมีอิสระ   นักวิจัยทางด้านการจูงใจกล่าวว่าผู้บริโภคกลุ่มเล็กเพื่อเปิดเผยที่มีต่อการ เลือกซื้อสินค้าว่าอะไรจะอยู่ในจิตใจของผู้บริโภคในเรื่องของการซื้อ การศึกษาความต้องการให้ตนประสบความสำเร็จ

ทฤษฎีแรงจูงใจของมาสโลว์
          ความต้องการของมนุษย์จะถูกเรียงตามลำดับจากสิ่งที่กดดันมากที่สุดไปหาน้อย ที่สุด เรียงลำดับความสำคัญ คือความต้องการทางกาย  (physiological  needs  ความต้องการความปลอดภัย  (safety  needs)              ความต้องการทางสังคม  (social needs )  ต้องการยกย่อง  (esteem needs)  และความต้องการให้ตนประสบผลสำเร็จ  (self-actualization needs)บุคคลพยายามที่จะสร้างความพึงพอใจให้กับความต้องที่สำคัญเป็นอันดับ แรกก่อน เมื่อความต้องการนั้นได้รับความพึงพอใจ ความต้องการนั้นจะหมดลงและเป็นตัวกระตุ้นให้บุคคลพยายามสร้างความพึงพอใจให้ และความต้องการ

 การรับรู้
          บุคคลที่ได้รับสิ่งกระตุ้นจะอยู่ในสภาพการส่งข้อมูลผ่านประสาทสัมผัสทั้ง ห้า  อันได้แก่ การเห็น การได้ยิน  การได้กลิ่น  การสัมผัส  และการลิ้มรส  จากความรู้สึกเหล่านี้ด้วยวิธีของคนแต่ละคน การรับรู้(perception) เป็นกระบวนการที่บุคคลเลือกรับรู้ จัดการ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ  กระบวนการรับรู้มี  3 ขั้นตอน การเลือกให้ความสนใจ การเลือกแปลความหมายบิดเบือน และการเลือกเก็บรักษา บุคคลต้องพบกับสิ่งกระตุ้นในแต่ละวันโดนเฉลี่ยบุคคลได้เห็นได้ยินสื่อโฆษณา มากกว่า  1,500 ชิ้น ต่อวัน  จึงเป็นไปไม่ได้ที่บุคคลให้ความสนใจกับสิ่งกระตุ้นทั้งหมด การเลือกให้ความสนใจที่เห็นและได้ยิน  นั่นหมายความว่านักการตลาดต้องทำงานอย่างนักเป็นพิเศษเพื่อจะดึงดูดความสนใจ ของลูกค้า
          แม้ว่านักการตลาดส่านใหญ่กังวลว่าผู้บริโภคจะรับรู้สิ่งที่ตนเสนอไปทั้งหมด หรือไม่  ผู้บริโภคบางรายกลับกังวลว่าเขาจะได้รับอิทธิพลจากข่าวสารทางการตลาดโดยผ่าน การโฆษณาแฝง การศึกษาของนักจิตวิทยาและนักวิจัยผู้บริโภคจำนวนมากพบว่าข้อความที่ไม่ทัน รู้ตัวเหล่านั้นไม่เกี่ยวของกับพฤติกรรมผู้บริโภคการโฆษณาแฝงไม่ได้มี อิทธิพลตามที่กล่าวอ้าง  นักโฆษณาส่วนใหญ่พูดเยาะเย้ยแนวคิดที่จะจัดการกับผู้บริโภคผ่านข้อความซ้อน เร้น ตัวแทนโฆษณารายหนึ่งกล่าวว่าเรามีความยากลำบากในการจูงใจผู้บริโภคด้วยโฆษณา  30  วินาทีแล้วเราจะสามารถใช้โฆษณาแค่ 1/300 วินาทีจูงใจผู้บริโภคได้

การเรียนรู้
          เมื่อบุคคลกระทำสิ่งจะพวกเกิดการเรียน การเรียนรู้ (learning) แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลที่เกิดจากประสบการณ์ของแต่ละคน โดยกล่าวว่าพฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการเรียนรู้เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างแรง ขับ ตัวกระตุ้น ตัวนำ การตอบสนอง และการเสริมแรง เช่นสมมติแอนนาซื้อกล่องนิคอน ถ้าประสบการณ์จากการใช้กล้อง การส่งเสริมดังนั้นมีความเป็นไปได้ว่าในการซื้อกล้องเป็นไปได้ว่าในการซื้อ กล้องถ่ายรูป กล้องส่องทางไกล หรือสินค้าคล้ายกัน เธอจะเลือกซื้อกล้องนิคอน  ความสำคัญของทฤษฎีการเรียนรู้สำหรับนักการตลาด คือนักการตลาดสามารถสร้างอุปสงค์ของผลิตภัณฑ์โดยเชื่อมให้เข้ากับแรงขับที่ เกิดขึ้นอย่างรุนแรง และใช้ส่งเสริมแรงทางบวก 

ความเชื่อและทัศนคติ
          การกระทำและการเรียนรู้ซึ่งความเชื่อจะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อ ความเชื่อ(belief)  เป็นความคิดที่บุคคลยึดถือเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แอนนาอาจจะเชื่อว่ากล้องนิคอนสามารถถ่ายภาพได้ดีมากทนต่อการใช้งานและมีราคา เพียง 450 ดอลลาร์สหรัฐ ความ เชื่อเหล่านี้อาจเกิดจากความรู้ ความคิดเห็น หรือความศรัทธา ซึ่งจะเกิดแรงผลัดดันทางอารมณ์ เช่น การที่แอนนาเชื่อว่ากล้องนิคอนมีน้ำหนักมากอาจจะเกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยว ข้องกับการตัดสินใจของเธอ       ทัศนคติเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ยาก  ทัศนคติของบุคคลจะมีรูปแบบแน่นนอนและการเปลี่ยนแปลงทัศนคติหนึ่งจำเป็นต้อง ปรับเปลี่ยนสิ่งอื่นที่ทำได้ค่อนข้างยาก ดังนั้นกิจการควรพยายามทำผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับทัศนคติที่มีอยู่ดีกว่าที่ จะพยายามเปลี่ยนแปลงทัศนคติเพราะการเปลี่ยนแปลงทัศนคติจำเป็นต้องใช้เงิน จำนวนมาก  จะเห็นว่ามีพลังต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภค การเลือกของผู้บริโภคเป็นผลจากปฏิกิริยาภายในที่ซับซ้อนของวัฒนธรรม สังคม ปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยทางจิตวิทยา